ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นสถานที่ที่ผู้คนเข้ามาติดตามข่าวด่วน สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น #WhatsHappening และทำให้เกิด cultural moments แบบเรียลไทม์ ในแวดวงต่าง ๆ ผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 280 ตัวอักษร เมื่อทวีตแล้วไม่สามารถแก้ไขข้อความได้ จำเป็นต้องลบออกแล้วทวีตใหม่แทน แจ็ค ดอร์ซีย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO แพลตฟอร์มนี้เคยระบุว่า เขาจะไม่เพิ่มปุ่มแก้ไขทวีตดังในทวิตเตอร์มองว่าเป็นการทำลายเสน่ห์การส่งข้อความแบบ SMS และป้องกันปัญหาการกระจายข้อมูลแบบเท็จ

แม้เดือน มี.ค. ปี 64 Twitter ทวิตเตอร์ได้มีการทดสอบปุ่ม Undo Sent ที่ให้โอกาสผู้ทวีตยกเลิกการส่งข้อความภายใน 5 วินาที แต่ก็ยังไม่ใช่ปุ่มแก้ไขทวีตที่คนต้องการ

Twitter

 

เจาะเทรนด์มาแรงช่วยดันแบรนด์

ทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มเน้นความว่องไว ทันเหตุการณ์ และมีความหลากหลายสูง ในแต่ละวันมีบทสนทนาที่หลากหลายเกิดขึ้นหลายหัวข้อ แยกย่อยไปตามกลุ่มความสนใจ หากสามารถติดตามเทรนด์ที่เกิดขึ้น และหาวิธีเชื่อมโยงถึง ก็จะสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายในทวิตเตอร์ได้ โดยล่าสุด ทวิตเตอร์ได้มีการวิเคราะห์เจาะลึกเทรนด์ใน 3 ปีที่ผ่านมา ( ก.ค. 2018-มิ.ย. 2021) เป็นรายงาน Thailand Twitter Trends Report 2021 เพื่อดูว่าผู้ใช้ทวิตเตอร์ในประเทศไทยมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง โดยจากการศึกษาพบว่ามี 6 กลุ่มหัวข้อสนทนาที่กำลังเป็นที่นิยม ได้แก่

  • Wellbeing หรือการมีชีวิตที่ดีขึ้น เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพกาย สุขภาพจิต การมองตัวเองในเชิงบวก การค้นหาตัวเอง และการแบ่งปันคำปรึกษา ให้กำลังใจผู้อื่น
  • Creator Culture เกี่ยวกับวัฒนธรรมครีเอเตอร์ที่เติบโตมากขึ้น โดยเกมเมอร์เป็นอีกชุมชนมีคนสนใจจำนวนมาก นอกจากนั้นช่วงล็อกดาวน์ก็ทำให้คนที่มีเวลาอยู่ที่บ้าน จึงเกิดการสร้างสรรค์เนื้อหาที่หลากหลาย เช่น การเป็นเชฟที่บ้าน หรือทำเนื้อหาไลฟ์สดชีวิตประจำวันของศิลปิน เพื่อลดระยะห่างทางสังคมช่วงเกิดการระบาด
  • Everyday Wonder สิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ในช่วงสถานการณ์ที่เคร่งเครียด คอนเทนต์ความสนใจเฉพาะกลุ่มที่ช่วยสร้างความสุข ทำให้การผ่อนคลายจากชีวิตประจำวัน หรือสร้างความหวังก็ได้รับความนิยม
  • One Planet เทรนด์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เรื่องขยะ คุณภาพอากาศ หรือการขนส่ง กำลังได้รับความนิยม
  • Tech Life เกี่ยวกับเทคโนโลยี เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้คนต้องทำงานที่บ้าน จึงมีบทสนทนาในทวิตเตอร์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการการเชื่อมต่อหากันมากขึ้น
  • My Identity อัตลักษณ์ของตนเอง คนไทยมีความมั่นใจ และแสดงออกเกี่ยวกับตัวเองมากขึ้น บทสนนาเกี่ยวกับแฟนคลับ หรือประเด็นวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มเพิ่มมากขึ้น

ข้อควรรู้เกี่ยวกับเทรนด์ทวิต

  1. เทรนด์เกิดจากอัลกอริทึม ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเริ่มต้นของเทรนด์โดยเลือกสถานที่ที่ต้องการได้ เช่น ตั้งค่าเป็นประเทศไทย และเห็นหัวข้อที่ได้รับความนิยมหรือกำลังติดเทรนด์ทวิตเตอร์อยู่ในตำแหน่งที่ตั้งที่เจาะจงได้
  2. เทรนด์ไม่ใช่แค่เรื่องของจำนวนทวีต ความสดใหม่ของแท็กเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากเทรนด์จะแสดงให้เห็นว่า ณ ตอนนี้มีเรื่องอะไรที่กำลังได้รับความนิยมบนทวิตเตอร์
  3. ไม่ติดแฮชแท็กก็ติดเทรนด์ได้ นอกจากการติดแฮชแท็กเป็นส่วนหนึ่งของทวิตเตอร์เทรนด์ คำหรือวลีที่ใช้ในทวีต จะถูกนับรวมด้วยเช่นกัน
  4. การร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ การจะเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ได้ ต้องทวีตข้อความที่มีวลี คำ หรือแฮชแท็กที่กำลังติดเทรนด์อยู่ (*ทวิตเตอร์มีตัวกรองในการค้นหาเฉพาะข้อความที่มีคุณภาพ)
  5. นโยบายและกฎที่เกี่ยวข้องกับทวิตเตอร์เทรนด์ บางครั้ง ทวิตเตอร์อาจป้องกันเนื้อหาบางประเภทไม่ให้ติดเทรนด์
    1. เนื้อหาหยาบคาย หรือมีการอ้างอิงรูปภาพที่ไม่เหมาะสม
    2. ปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังในเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชาติกำเนิด รสนิยมทางเพศ เพศ อัตลักษณ์ทางเพศ ความเกี่ยวข้องทางศาสนา อายุ ความทุพพลภาพ หรืออาการป่วยโรคต่างๆ
    3. ละเมิด ข้อบังคับของทวิตเตอร์ เกี่ยวกับความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว หรือความถูกต้องเป็นต้น https://help.twitter.com/th/rules-and-policies/twitter-rules
  6. ประเภทของทวิตเตอร์เทรนด์ มี 2 แบบคือ เทรนด์แบบทั่วไปและเทรนด์ที่โปรโมตบนทวิตเตอร์ ซึ่งมี 2 แบบได้แก่
    1. โปรโมตเทรนด์ (Promoted Trends) คือ ฟีเจอร์โฆษณาที่สร้างผลลัพธ์สูงใน 24 ชั่วโมง เทรนด์ที่เป็นการโปรโมตในรูปแบบนี้จะมีเครื่องหมายแสดงอย่างชัดเจนว่าโปรโมต
    2. โปรโมตสปอตไลต์เทรนด์ (Promoted Trend Spotlight) คือรูปแบบการโฆษณาแบบภาพที่ปรากฏเหนือรายการเทรนด์ รองรับวิดีโอและภาพเคลื่อนไหว (GIFs) ไม่เกิน 6 วินาที รวมทั้งภาพนิ่ง

Real Time content การทำเรียลไทม์คอนเทนต์ให้ทันกับประเด็นสถานการณ์ปัจจุบันมีความสำคัญบนโลกโซเชียล โดยเฉพาะทวิตเตอร์ที่ต้องให้ทันกับเทรนด์ และการมองเห็นในช่วงเวลานั้น ๆ การทำเรียลไทม์บนทวิตเตอร์ จึงต้องการความไวกว่าที่อื่น

การปล่อยคอนเทนต์อาจจะเริ่มจากภาพและข้อความ ที่สามารถทำได้ทันที และตามมาด้วยคลิป หรือกราฟฟิกในภายหลัง อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องทวีตให้ไวตามเทรนด์ หากทวีตแล้วผิดพลาด มีคำผิด แต่ไม่ได้ผิดในสาระสำคัญของสิ่งที่ต้องการสื่อสาร และมีคนโควทต่อแล้ว ไม่จำเป็นต้องลบออก แต่เปลี่ยนเป็นโควทแล้วรีพลายแก้คำผิดด้านล่างทวีตแทนได้ เพราะหากแก้คำผิดซ้ำ ๆ มีโอกาสอย่างมากที่ทวีตที่ทวีตออกไปในหลังจะไม่ถูกรีซ้ำอีก

ซึ่งนอกจากประเด็นเรื่องคำผิดแล้ว การทวีตตามกระแส ยังมีหลักกว้าง ๆ ที่ควรยึดอยู่ 4 ข้อ

  1. Relevancy ความเกี่ยวข้องกับแบรนด์ ว่าเกี่ยวกันหรือไม่
  2. Appropriateness ความเหมาะสม บางกระแสมีความอ่อนไหว หากทวีตเรื่องซีเรียสในประเด็นอ่อนไหว อาจจะโดนกระแสตีกลับได้
  3. Brand Character และ Purpose ต้องดูคาแรคเตอร์ของแบรนด์ว่ามีลักษณะจริงจัง หรือไม่เป็นทางการ เหมาะกับการเล่นตามเทรนด์นั้น ๆ หรือไม่ หรือเป้าประสงค์ของแบรนด์ ตอบสนองหรือสอดคล้องกับเทรนด์นั้นหรือไม่ เช่น เทรนด์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หากแบรนด์ไม่เคยมีจุดยืนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ การโพสต์ตามเทรนด์บนโซเชียล ก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดี และอาจนำไปสู่การวิพากวิจารณ์ได้
  4. Copyright ลิขสิทธิ์เจ้าของเรื่องต้นฉบับ คอนเทนต์ตามเทรนด์อาจจะมีเนื้อหาที่ไปเกี่ยวโยงกับบุคคล หรือองค์กร การใช้ภาพ หรือไฟล์ต้นฉบับมาดัดแปลงเป็นคอนเทนต์ อาจจะต้องระมัดระวังเรื่องลิขสิทธิ์ ในกรณีที่ไม่ได้นำไปใช้เพื่อการค้า ก็จำเป็นต้องใส่แหล่งอ้างอิง หรือเครดิตของข้อมูลเหล่านั้นให้ครบถ้วนและชัดเจนด้วย

Tips & Trick

ทวีตเลยไม่ต้องอัปโหลด
ค้นหาทวีตในภาษาที่เราต้องการ
Remove a followers บล็อกผู้ติดตามแบบนุ่มนวล (On PC Only)
#XXปีที่แล้วคุณทำอะไรอยู่
ปักพินเรื่องที่อยากขาย รีซ้ำเรื่องเด่นเพื่อดัน
Bookmarks เก็บไว้ หรือรวบรวม Moment เพื่อส่งต่อ
สร้าง Lists รายชื่อที่ต้องการติดตาม หลายไทม์ไลน์ใน 1 แอค
ตั้งค่าผู้ตอบกลับ/ ซ่อนการตอบกลับ
เสวนากับผู้ติดตาม บน Twitter Spaces สนทนาด้วยเสียงแบบเรียลไทม์

สเปซเป็นฟีเจอร์บนทวิตเตอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในไทย หน่วยงานรัฐบางหน่วยงานใช้สเปซในการจัดกิจกรรมเสวนาบนโลกออนไลน์ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายรุ่นใหม่ ๆ ที่อยู่บนทวิตเตอร์ เช่น กรมสุขภาพจิต #วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก หรือการสื่อสารกับแฟนคลับของศิลปินผ่านสเปซ เป็นต้น ดังนั้นหากแบรนด์ต้องการจัดกิจกรรม ที่ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายบนทวิตเตอร์เข้าร่วม การใช้ฟีเจอร์สเปซก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สดใหม่

แหล่งอ้างอิง


วิดีโอประกอบการเรียน