Facebook ปรับ Algorithm เพื่อลดจำนวน Spam Post ประเภท Engagement Bait หรือ โพสต์ที่พยายามให้ผู้อ่านผู้ชมมีส่วนร่วมจนอาจก่อความรำคาญ หรือการล่อให้มีส่วนร่วม โดยเพจหรือคนที่ชอบโพสต์แนวนี้ก็มักจะโพสต์ถี่จนเป็นสแปมรบกวน feed สาธารณะ ให้สมาชิก Facebook ร่วม Like, Share, Tag เพื่อน หรือ Comment ซึ่ง Facebook จะดูจากแคปชัน เช่น ช่วยกดแชร์ กดไลท์เพจ หรือร่วมกดโหวต ให้แสดงความคิดเห็นใต้โพสต์นี้ เป็นต้น Facebook จะนับว่าเป็น low-quality page. ซึ่งโพสต์และเพจที่ใช้กลยุทธ์นี้จะเข้าถูกปรับลดระดับลง
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการล่อให้มีส่วนร่วม
เพื่อช่วยสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมที่แท้จริง ทีม Facebook ได้ตรวจสอบและแบ่งหมวดหมู่โพสต์นับแสนรายการ เพื่อให้ข้อมูลกับโมเดลการเรียนรู้ของเครื่องที่สามารถตรวจจับการล่อให้มีส่วนร่วมประเภทต่าง ๆ ได้ โมเดลนี้สร้างขึ้นด้วยหลักปฏิบัติเฉพาะ ซึ่งเราสนับสนุนให้เพจเรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยงการโพสต์การล่อให้มีส่วนร่วมโดยไม่รู้ตัวในอนาคต ซึ่งได้แก่
- Vote Baiting หลอกล่อให้โหวต: ขอให้ผู้คนโหวตโดยใช้ความรู้สึกความคิดเห็นการแชร์หรือวิธีการอื่นๆซึ่งแสดงถึงการโหวต เช่น โหวต 1 หากคุณชอบภาพทางซ้ายมือ หรือกดโหวต 2 ถ้าคุณเห็นด้วย เป็นต้น
- React Baiting การล่อหลอกให้แสดงความรู้สึก การขอให้ผู้คนแสดงความรู้สึกต่อโพสต์ (ได้แก่ ถูกใจ, รักเลย, ฮ่าๆ, ว้าว, เศร้า และโกรธ)
- Share Baitingการล่อให้แชร์ เช่น กิจกรรมที่ตั้งกติกาว่าให้แชร์โพสต์นี้แล้วเปิดสาธารณะ เป็นต้น
- Tag Baiting ล่อให้แท็กคือ โพสต์ประเภทขอให้เราแท็กเพื่อน หรือ คนสนิท เพื่อให้คนมาดูโพสต์
- Comment Baiting ล่อให้เม้นท์คือขอให้ผู้คนแสดงความคิดเห็นด้วยคำตอบเฉพาะเจาะจง (คำพูด ตัวเลข วลี หรืออีโมจิ)
นอกจากนี้ อีกหนึ่ง level ของ Click bait คือการพาดหัวข่าวแบบเวอร์ ๆ หรือหัวข้อของบทความไม่ตรงกับเนื้อหา หรือพาดหัวหลอกให้คลิกอ่าน แต่ในข่าวไม่มีเนื้อที่เกี่ยวข้อง หรือโพสต์ที่ขอความช่วยเหลือ คำปรึกษา หรือคำแนะนำต่างๆ เช่น การเผยแพร่รายงานเด็กหาย การระดมทุนเพื่อการกุศล หรือการขอเคล็ดลับการท่องเที่ยว จะไม่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการอัพเดตนี้ โพสต์ประเภทดังกล่าวก็จะถูก Facebook ลดจำนวนการมองเห็น หรือ Reach ลง
Q: เหตุใด Facebook จึงมีมาตรการนี้?
A: ผู้คนได้บอกให้เราทราบว่าพวกเขาไม่ชอบโพสต์สแปมบน Facebook ที่หลอกล่อให้มีการโต้ตอบโดยการกดถูกใจการแชร์การแสดงความคิดเห็นและการดำเนินการอื่นๆจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราพยายามระบุและลดระดับการเข้าถึงของโพสต์ที่ใช้การล่อให้มีส่วนร่วม
Q: คลิกเบตต่างจากการล่อให้มีส่วนร่วมอย่างไร
A: ข้อความพาดหัวที่ล่อให้คลิกจะกระตุ้นให้คลิกโดยจงใจปิดบังข้อมูลสำคัญหรือสร้างความคาดหวังที่ชักนำไปในทางที่ผิดผ่านการกล่าวอ้างเกินจริงขณะเดียวกันโพสต์ที่ล่อให้มีส่วนร่วมมักจะขอให้ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการกดถูกใจการแสดงความคิดเห็นการแชร์และการดำเนินการอื่นๆแม้ว่าเนื้อหาดังกล่าวจะไม่ได้มีความหมายต่อผู้คนจริงๆ
Q: การดำเนินการดังกล่าวจะส่งผลต่อเพจอย่างไร
A: ผู้เผยแพร่และธุรกิจต่างๆที่ใช้กลยุทธ์การล่อให้มีส่วนร่วมในโพสต์จะสามารถเข้าถึงผู้คนด้วยโพสต์เหล่านี้ได้น้อยลงขณะเดียวกันเพจที่ชอบแชร์โพสต์ที่ล่อให้มีส่วนร่วมเป็นประจำจะเข้าถึงผู้คนได้น้อยลงอย่างเห็นได้ชัดผู้ดูแลเพจควรให้ความสำคัญกับการโพสต์เรื่องราวที่เกี่ยวข้องและมีความหมายโดยไม่ใช้กลยุทธ์การล่อให้มีส่วนร่วม
Q: ฉันจะขอให้ผู้ติดตามของฉันมีส่วนร่วมได้อย่างไร หากไม่ใช้การล่อให้มีส่วนร่วม
A: คุณสามารถกระตุ้นให้ผู้ติดตามมีส่วนร่วมได้โดยสร้างเรื่องราวที่เกี่ยวข้องและมีความหมาย โพสต์ประเภทนี้จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่แท้จริง ซึ่งแตกต่างจากการล่อให้มีส่วนร่วม
Q: มาตรการนี้จะส่งผลกระทบต่อภาษาใดบ้าง
A: เราจะเริ่มใช้มาตรการนี้กับโพสต์ที่เป็นภาษาอังกฤษที่ใช้การล่อให้มีส่วนร่วม และวางแผนที่จะทยอยใช้กับภาษาอื่นๆ ในปี 2018
Q: การล่อให้มีส่วนร่วมประเภทต่างๆ มีอะไรบ้าง
A: โพสต์ที่ล่อให้มีส่วนร่วมอาจมีหลายรูปแบบ ส่วนมากเป็นการกระตุ้นให้แสดงความรู้สึก แชร์ แสดงความคิดเห็น แท็ก หรือโหวต
Q: การล่อให้มีส่วนร่วมถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ไม่ดีทั้งหมดหรือไม่
A: ไม่ใช่ทั้งหมด แม้ว่าโพสต์ส่วนมากที่ใช้กลยุทธ์การล่อให้มีส่วนร่วมจะพยายามโปรโมทเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีความหมาย (เช่น “กดถูกใจเลยหากคุณเป็นชาวราศีเมษ!”) แต่ตัวอย่างอื่นๆ ก็อาจให้ประโยชน์กับผู้คนได้ เช่น โพสต์ที่เผยแพร่รายงานเด็กหาย ระดมทุนเพื่อการกุศล หรือขอเคล็ดลับการเดินทาง โพสต์เหล่านี้กระตุ้นการมีส่วนร่วมที่แท้จริงและเราจะใช้ความระมัดระวังไม่ให้กระทบต่อโพสต์ประเภทนี้ด้วยโมเดลการเรียนรู้ของเครื่อง
ข้อมูลจาก www.Facebook.com/business/help